เปิดประวัติ แอลัน ทัวริ่ง(Alan Mathison Turing) ชายผู้ถอดรหัส อีนิกม่า ในสงครามโลกครั้งที่2
สงครามโลกครั้งที่สองหลายคนคงคิดถึงแต่ ระเบิดนิวเครียร์ อดอฟ ฮิตเลอร์ การสู้รบในแต่ละที่ทั้งการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์การยกพลขึ้นบกที่นอมังดี แล้วอีนิม่าคืออะไร? แอลัน ทัวริ่ง คือใคร?
The mountain2 จะพาคุณย้อนรอยสงครามกลับสู่ปี1939
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่2
การโจมตีแต่ละครั้งจำเป็นต้องใช้การสื่อสาร
ไม่เหมือนทุกวันนี้ที่การสื่อสารดะดวกสบาย แต่การสื่อสารในช่วงสงครามโลกนั้น สิ่งสำคัญฝ่ายเยอรมันต้องการสื่อสารกับกำลังทหารในการสั่งเข้าโจมตีในแต่ละครั้ง
ฉะนั้นการสื่อสารทุกครั้งต้องมีคามปลอดภัย แล้วจะทำยังไง?
ทางการเยอรมันเลยสั่งให้ นักเข้ารหัสและถอดรหัสสารลับ วิศวกรชาวเยอรมัน
อาร์ทูร์ แชร์บีอุส ประดิษฐ์อีนิกออกมา เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เครื่องอินิกม่าแบบแรก
ๆ ใช้ในเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1920 ต่อมาในสงครามโลกครั้งที่2มันถูกนำมาเข้ารหัสให้ซับซ้อนกว่าเดิม
เพื่อใช้ในการสื่อสารทางการทหาร เรื่องราวของแอลัน ทัวริง
จึงเกิดขึ้นต่อจากนี้ ประวัติ แอลัน
ทัวริ่ง เกิด 23 มิถุนายน พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) – 7
มิถุนายน พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) เป็นนักคณิตศาสตร์, นักตรรกศาสตร์, นักรหัสวิทยาและวีรบุรุษสงครามชาวอังกฤษ
และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นบิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ เมื่อปี พ.ศ. 2474
เขาเข้าเรียนคณิตศาสตร์ที่คิงส์คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2477
ทัวริงก็จบจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ทางมหาวิทยาลัยก็เลยเชิญเขาอยู่เป็น
Fellow ด้านคณิตศาสตร์ต่อ (ส่วนใหญ่ Fellow ของเคมบริดจ์จะเป็นพวกที่จบปริญญาเอก
แต่ทัวริงจบเพียงปริญญาตรี)
ในระหว่างเรียน เขาได้คิดค้นเครื่องจักรชื่อ
ทัวริ่งแมชชีนขึ้นมา ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยูในทุกวันนี้
โดยทัวริ่งแมชชีน สามารถ “เข้าใจ” ค่าคำสั่งที่มนุษย์สั่งการได้
ในฐานตัวเลขไบนารี่ ซึ่งในยุค 40 ถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ ต่อมาในระหว่างสงครามโลกครั้งที่2
ทางรัฐบาลอังกฤษระดมพลหัวกะทิ ทั้งนักคณิตศาสตร์ นักหมากรุก และนักอักษรศาสตร์ เพื่อหาทางรับรู้ให้ได้ว่าฝ่ายอักษะหรือเยอรมัน
สื่อสารอะไรกัน พูดง่ายๆคือการดักฟังแต่ประเด็นคือ ทางเยอรมันสื่อสารโดยเครื่องอินิกม่า
ที่มีการเข้ารหัสไว้มากกว่า159ล้านล้านรูปแบบ ต่อให้เอาคนทั้งโลกมานั่งช่วยกันถอดรหัสก็ยังใช้เวลามากถึง4ปีกว่าจะถอดได้
(ไอเดียของแมคชีน
ทัวริ่ง จึงเกิดขึ้นเมื่อ แอลัน ทัวริ่ง บอกว่า ”ถ้าคนไม่สามารถสู้กับเครื่องจักรได้แล้วมีแต่เครื่องจักรที่สู้กับเครื่องจักรได้ละ”)
อลัน
ทัวริ่ง จึงขออาสาเข้ามาถอดรหัสนี้ แน่นอนว่าเขาชอบเล่นเกมปริศนาอักษรไขว้ เขาจึงบอกว่ามันก็เหมือนการแก้ปริศนา แต่แค่ว่าเราต้องใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วย แอลัน ทัวริ่ง และทีมของเขาใช้เวลาอยู่หลายเดือนก็แล้วยังไม่สามารถถอดรหัสอินิกม่าได้ แม้เครื่องจักรของเขาที่สร้างก็กำลังทำงานทั้งวันทั้งคืนแต่มันยังคงค้นหาคำหรือรหัสนั้นต่อไปเรื่อยๆ เมื่อฝ่ายรัฐบาลอังกฤษเริ่มไม่พอใจที่แอลัน ใช้เวลาและเงินจำนวนมากในการสร้างเครื่องจักรของเขาแต่มันยังไม่สามารถ ถอดรหัสได้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงขีดเส้นตาย1เดือน ภายใน1เดือนเขาต้องทำให้ได้ไ่ม่งั้นแอลัน และทีมของเขา จะถูกไล่ออกแล้วรัฐบาลจะกลับไปใช้การถอดรหัสแบบเดิม และในท้ายที่สุดเขาก็เห็นจุดอ่อน แอลัน ทัวริ่ง จึงสามารถถอดรหัสอินิกม่าในการเข้ารหัสไว้159ล้านล้านรูปแบบได้สำเร็จ โดย หากทัวริงและทีมงานไม่ได้ถอดรหัสของเยอรมันและสกัดกองทัพเรือดำน้ำ U-boat ในแอตแลนติกเหนือ กองทัพสัมพันธมิตรก็จะยกพลขึ้นบกในวัน D-Day ไม่ได้ อาจจะล่าช้าออกไปถึง 1 ปี หรืออาจจะนานกว่านั้นเซอร์ แฮร์รี่ ฮินสลีย์ (Harry Hinsley) นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษชี้ว่า หากยกพลขึ้นบกช้าไปไม่ถึง 1 ปี ฮิตเลอร์จะแข็งแกร่งขึ้น และยากที่จะโค่นได้ ฮินสลีย์คาดว่าฝ่ายสัมพันธมิตรอาจจะใช้อาวุธชีวภาพ (เชื้อแอนแทรกซ์) (ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก:https://www.posttoday.com/world/595043)
อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นผลงานที่ยอดเยี่ยม แต่เรื่องนี้ ไม่สามารถถูกเผยแพร่ได้ เนื่องจากเป็นความลับทางการ ทหารของรัฐบาล
ต่อมา ทัวริ่งออก ผลงานวิชาการมาชิ้นแล้วชิ้น เล่า ทั้งสาขาคณิตศาสตร์ สาขาเทคโนโลยี รวมถึงมีบทความวิชาการเกี่ย วกับแนวคิดการสร้าง AI
แม้นชีวิตที่น่าตื่นเต้นและผลงานที่ยอดเยี่ยมตลอดกาลของเขาควรถูกยกย่องในยกนั้นแต่กระนั้น เขาก็โดนจับในข้อหามีรศนิยมในเพศเดียวกัน เกย์ ในยุคสมัยนั้นถือว่าผิดกฏหมายชายไม่สามารถแต่งงานหรือมีความสัมพันธ์กับเพศเดียวกันได้
-วันที่ 8 มิถุนายน 1954 ทัวริงถูกพบเสียชีวิตในบ้านพักอายุแค่ 41 ปี หลังการชันสูตรพบว่าเขารับสารไซยาไนด์ในปริมาณที่ฆ่าคนได้
ต่อมา สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ได้พระราชทานอภัยโทษให้แก่ Alan Turing แล้ว ภายหลังเขาถูกตัดสินว่ามีความผิดด้วยข้อหารักร่วมเพศมานานกว่า 60 ปี ในวันที่ (15 มิ.ย.) ธนาคารกลางอังกฤษ BOE ได้เลือกให้ แอลัน ทัวริ่ง เลือกขึ้นธนบัตร50ปอด์น แบบใหม่ เอาชนะนักวิทยาศาสตร์กว่า1000คน ที่ถูกเสนอชื่อ หนึ่งในนั้นมี สตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง เป็นต้น สาเหตุที่BOEเลือก ทัวริ่ง ขึ้นธนบัตร เพราะ ไม่ใช่แค่ผลงานของเขาอย่างเดียวแต่คือสิ่งที่เขาทำ ผลงานของเขาได้ช่วยชีวิตคนทั่วโลกหลายล้านคนจากการประมาณการและย่นระยะเวลาสงครามไปกว่า2ปี
ฝากติดตาม fackbook fanspage คลิกลิ้ง: the between
ขอบคุณรูปภาพจาก:posttoday.com
ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก:https://www.posttoday.com/world/595043 และ https://workpointnews.com
0 ความคิดเห็น